รู้ไว้ไม่จู้ด! 5 เชื้อโรคในอาหารที่ควรระวัง!
เคยไหมที่ท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษ แต่ไม่รู้ว่าสาเหตุจริงๆ ของอาการ
นั้นมาจากไหน และวิธีป้องกันที่แท้จริงแล้วคืออะไร
วันนี้เรามารู้จัก 5 เชื้อโรคในอาหารกันดีกว่า
การปนเปื้อนในอาหารนั้น สามารถเกิดได้ในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ขนส่ง เก็บรักษา การเตรียมอาหาร จนไปถึงการเสิร์ฟอาหาร โดยการปนเปื้อนในอาหาร หรือ Cross-Contamination มักเกิดในอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น อาหารประเภท สลัด ซาชิมิ เป็นต้น
อุณหภูมิที่ปลอดภัยสำหรับปรุงอาหาร และเนื้อสัตว์ต่างๆ :
1. เนื้อไก่ ปรุงสุกที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
2. ไข่, เนื้อบด 70 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
3. เนื้อวัว, เนื้อหมู, เนื้อแกะ, เนื้อลูกวัว ปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
อุณหภูมิอันตราย!!! DANGER ZONE อยู่ระหว่าง 5-60 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บอาหารในอุณหภูมินี้ เนื่องจากเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโรค
โดยสาเหตุหลักของการเกิดเชื้อโรคในอาหารนั้นจะเกิดจากอุณหภูมิการเก็บอาหารไม่ถูกต้อง เช่น วางอาหารไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน (29-35 องศาเซลเซียส) ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การปนเปื้อนในอาหารก็มักเกิดจากการรักษาความสะอาด และการจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆแบบผิดวิธี ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ดังนั้นเรามารู้จักกับ 5 เชื้อโรคในอาหารที่พบกันบ่อยๆ รู้อาการหลังได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และวิธีป้องกันดีกว่าครับบ!!
เอสเชอริเชีย
มักจะเจอในเนื้อหมู เนื้อวัว และสัตว์เนื้อแดงที่ไม่สุก
โดยเกิดจากการปนเปื้อนผ่านอุจจาระของสัตว์
มักจะเกิดอาการใน 1-8 หลังจากที่ได้รับเชื้อ
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อบ 5-90 นาที
1. สัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู และเนื้อวัว มักจะพบ เชื้อ E.Coli หรือเอสเชอริเชีย ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของอุจจาระของสัตว์
อาการ : มักจะเกิดอาการใน 1-8 หลังจากที่ได้รับเชื้อ
วิธีป้องกัน / ทำลาย : เชื้อ E-Coli จะถูกทำลายเมื่อเรานำไปประกอบอาหาร โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที แต่บางสายพันธุ์ต้องใช้อุณหภูมิถึง 120 องศาเซลเซียสขึ้นไป และใช้เวลานานถึง 90 นาที ถึงจะสามารถทำลายเชื้อ E.Coli ได้หมด เพราะฉะนั้นแล้วเราไม่ควรทานอาหารสุกๆดิบๆ กันนะครับ
บาซิลลัส ซีเรียส
มักจะพบในข้าวผัด หรืออาหารตามสั่งที่ถูกตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน
มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน และจะเกิดอาการภายใน 8-16 ชั่วโมง
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อบ 5-90 นาที
2. ข้าวผัด และอาหารตามสั่ง สามารถพบเชื้อ Bacillus cereus (บาซิลลัส ซีเรียส) หรือที่รู้จักกันในนามของ Fried-Rice Syndrome ซึ่งจะเจอโดยเฉพาะข้าวผัดที่ถูกทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง (30 องศาเซลเซียส) เป็นเวลานานๆ เพราะเชื้อโรคนี้สามารถกระจายตัวเป็นสองเท่า ภายในสามสิบนาที
อาการ : ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน และจะเกิดอาการภายใน 8-16 ชม.
วิธีป้องกัน / ทำลาย : เชื้อ B Cereus จะถูกทำลายเมื่อเรานำไปประกอบอาหาร โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิมากว่า 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที แต่ต้องระวังเพราะเชื้อตัวนี้ยังมีหลายสายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษที่ทนความร้อนได้ซึ่งต้องใช้ความร้อนถึง 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลากว่า 90 นาที
โนโรไวรัส
เป็นเชื้อที่เกิดจากการปนเปื้อนทางน้ำ ซึ่งสามารถส่งผ่านผู้เสิร์ฟอาหารถึงผู้รับประทานได้อีกด้วย
มีอาการท้องเสีย อาเจียน ซึ่งจะเกิดภายใน 12 - 48 ชั่วโมง และมีอาการต่อเนื่องถึง 48 - 72 ชั่วโมงเลยทีเดียว
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ หากรู้สึกไม่สบายให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหาร
3. น้ำ เป็นวัตถุดิบหนึ่งที่สามารถพบเชื้อไวรัส Norovirus (โนโรไวรัส) ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนทางน้ำ และที่สำคัญคือยังสามารถส่งผ่านผู้เสิร์ฟอาหารได้ด้วย โดยถ้าเกิดในพื้นที่ปิด เช่น เรือสำราญ หรือร้านอาหาร จะทำให้เชื้อโรคตัวนี้ สามารถแพร่กระจายตัวได้เร็ว และถือว่าเป็นเชื้อโรคอันดับหนึ่ง ที่ทำให้ชาวยุโรปท้องเสียเลยทีเดียว
อาการ : ท้องเสีย อาเจียน ซึ่งจะเกิดภายใน 12 - 48 ชั่วโมง และมีอาการต่อเนื่องถึง 48 - 72 ชั่วโมงเลยทีเดียว
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ หากรู้สึกไม่สบายให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหาร
บิบรีโอ วัลนิฟิคัส
เป็นเชื้อที่อันตรายมากก!!! และมักจะเจอในอาหารทะเลสดที่ไม่ได้ผ่านความร้อน
เกิดอาการใน 1-7 วัน จะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ขาดน้ำ
และสามารถรุนแรงถึงขั้น ติดเชื้อในกระแสเลือด
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารทะเลที่ไม่สด หรือวางไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน
4. อาหารทะเล เช่น หอยนางรมสด หอยลาย หอยแมงภู่ เรามักจะเจอ เชื้อ Vibrio vulnificus (บิบรีโอ วัลนิฟิคัส) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารทะเล
อาการ : อาการจะเกิดใน 1-7 วัน อาหารทั่วไปคือ ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ขาดน้ำ และสามารถรุนแรงถึงขั้น ติดเชื้อในกระแสเลือด จนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารทะเลที่ไม่สด หรือวางไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน
ซาลโมเนลลา
เป็นเชื้อที่เจอได้ในไข่ ไก่ หรือนม ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก
และยังสามารถติดต่อผ่านการปนเปื้อนของอุปกรณ์ในครัวอีกด้วย
จะมีอาการท้องเสีย 1-3 วัน และอาจมีอาการนานถึง 7 วันเลย
วิธีป้องกัน / ทำลาย : ถูกทำลายเมื่อใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นเวลา 60 นาที
5. เนื้อไก่ ไข่ หรือนม ที่ไม่ได้ผ่านการทำให้สุก เรามักจะมีเชื้อ Salmonella (ซาลโมเนลลา) อยู่ โดยเชื้อตัวนี้สามารถติดต่อผ่านอุปกรณ์ในครัวได้ เช่น มืด และเขียงได้อีกด้วย และแน่นอนมือของคนทำอาหารก็สามารถเป็นสื่อกลางของเชื้อได้อีกด้วย
อาการ : ท้องเสีย 1-3 วัน และอาจมีอาการนานถึง 7 วัน
วิธีป้องกัน / ทำลาย : เชื้อ Salmonella จะถูกทำลายเมื่อเรานำไปประกอบอาหาร โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไปเป็นเวลาอย่างน้อย 30-60 นาที
เชื้อโรค 5 ประเภทนี้ถือว่าเป็นเชื้อโรคที่พบบ่อยในอาหารที่ไม่สะอาด และทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ยังมีเชื้อโรคในอาหารอีกมากมายที่สามารถเกิดขึ้น และเป็นอันตรายได้ถ้าหากเราไม่รักษาความสะอาด และอุณหภูมิของอาหารให้ดี ดังนั้นเราควรเคร่งครัด และระวังไม่ให้เชื้อโรคเหล่านี้ได้แพร่กระจายสู่อาหารของเรา โดยการเก็บรักษาอาหารให้ถูกวิธี และรักษาความสะอาดอยู่เสมอนะครับ
ขอบคุณบทความดีๆจาก www.wongnai.com
ขอบคุณผู้เขียนบทความ Jentthanya
อ่านต่อได้ที่ : https://www.wongnai.com/food-tips/five-food-borne-illness-dieseases
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.hes.co.th/files/2014/05/103221.jpg